top of page
ค้นหา

5 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อเพชรกะรัต

  • รูปภาพนักเขียน: U Diamond
    U Diamond
  • 9 ก.ค. 2567
  • ยาว 2 นาที

เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัย และอยากมีความรู้ที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อเพชรกะรัตที่เหมาะสม คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป เพราะการซื้อเพชรไม่ได้เป็นเพียงการลงทุนเท่านั้นที่สำคัญ แต่เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางจิตใจสูงมาก ดังนั้นการรู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเพชรจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและมั่นใจมากขึ้น 

.

บทความนี้ของ U Diamond จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเพชรแท้ธรรมชาติ และเข้าใจการเลือกซื้อเพชรไซต์กะรัตมากขึ้น เพื่อให้คุณได้เครื่องประดับเพชรที่ตรงตามความต้องการ และอยู่ในงบประมาณที่คุณกำหนดเอาไว้สำหรับซื้อเครื่องประดับเพชรอีกด้วย

.

5 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อเพชรกะรัต 


1. ทำความรู้จักกับ กะรัตเพชร 

กะรัตเพชร (Carat) คืออะไร กะรัตเป็นหน่วยวัดน้ำหนักของเพชรและอัญมณีอื่นๆ ที่ใช้กันทั่วโลก แต่ไม่ใช่หน่วยวัดขนาดหรือปริมาตร เพชร 1 กะรัต (1 ct)  แปลงให้อยู่ในหน่วยกรัมจะเท่ากับ 0.2 กรัม หรือ 200 มิลลิกรัม  

เมื่อคิดคำนวณกะรัตเพชรออกมาแล้วยังมีเศษทศนิยม ส่วนใหญ่เศษทศนิยมจะถูกแปลงเป็นหน่วยสตางค์ หรือหน่วยตังค์ ซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กลงมา เพชร 1 กะรัต มีน้ำหนักเทียบเท่ากับ 100 สตางค์ หากเพชรที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กะรัต จะเรียกกันว่า 90 80 70 ตังค์ 

ซึ่งน้ำหนักกะรัตมีผลโดยตรงต่อราคาของเพชร โดยเพชรที่มีน้ำหนักมากกว่ามักจะมีราคาสูงกว่าเพชรที่มีน้ำหนักน้อยกว่า แต่การเพิ่มขึ้นของราคาจะไม่เป็นเส้นตรง และน้ำหนักของเพชรเป็นเพียงหนึ่งใน 4 ปัจจัยสำคัญในการประเมินคุณภาพของเพชร (4Cs : Carat, Cutting, Color, Clarity)


แหวนเพชรกะรัต

2. เพชรที่มีขนาดใหญ่ กะรัตเพชรยิ่งมาก จริงหรือไม่ 

หลายคนสับสนกับเรื่องนี้เอามากๆ ระหว่างน้ำหนักเพชร กับ ขนาดของเพชร ทำให้หลายคนคิดว่าถ้าอยากได้เพชรที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องเลือกเพชรที่มีกะรัตมาก ซึ่งถือเป็นความเชื่อที่ผิด น้ำหนักกะรัตไม่ได้บอกถึงขนาดที่เห็นได้ชัดเจนของเพชร เนื่องจากการเจียระไนและรูปทรงของเพชรมีผลต่อขนาดที่เห็นได้ชัดเจน กรณีที่เจียระไนเพชรออกมาแล้ว บริเวณก้นมีความลึก หรือขอบหนาจนเกินไป ก็จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักเพชรโดยไม่จำเป็นได้ เพชรที่มีน้ำหนักเท่ากันแต่เจียระไนแตกต่างกันอาจมีขนาดที่ต่างกันได้ 


ตารางเปรียบเทียบกะรัตและขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลางมาตรฐานของเพชร 1 กะรัตจะอยู่ที่ 6.35 - 6.50 มม. 


คำนวณกะรัตเพชรด้วยการวัด

การคำนวณกะรัตเพชรด้วยการวัด ทำได้ง่าย และสะดวกอย่างมาก ในกรณีที่คุณไม่ได้มีเครื่องชั่งน้ำหนักเพชร โดยใช้การวัดทั้งขนาด และเส้นผ่าศูนย์กลางของเพชร เพื่อนำมาใช้คำนวณด้วยสูตร ทำให้คุณคาดคะเนค่าน้ำหนัก หรือกะรัตของเพชรออกมาได้ทันที 


เพชรทรงกลม

เพชรทรงกลมมีรูปทรงแบบกลม ดังนั้น จึงต้องใช้การวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความลึกของเพชร โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของเพชร เป็นการวัดระยะเส้นตรงที่ลากผ่านจุดกึ่งกลางของวงกลม เริ่มต้นจากเส้นรอบวงด้านหนึ่ง เพื่อไปบรรจบกับเส้นรอบวงอีกด้านหนึ่ง และมีการใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร  ในขณะที่ความลึกของเพชร จะเป็นการวัดระยะแนวตั้ง หรือความสูงของพื้นผิวที่อยู่ด้านบนสุดของเพชร ไปจนถึงจุดด้านล่างสุดของเพชร และมีการใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรด้วยเช่นกัน เมื่อทราบค่าการวัดทั้ง 2 ค่าแล้ว ก็จะนำมาคำนวณผ่านสูตรเฉพาะสำหรับเพชรทรงกลม ดังนี้ 

  1. กะรัตเพชร (เพชรทรงกลม)  = เส้นผ่าศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) x เส้นผ่าศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) x ความลึก (มิลลิเมตร) x 0.006

  2. เส้นผ่าศูนย์กลางของเพชร วัดได้จากเส้นตรงที่พาดผ่านจุดกึ่งกลางของเพชรทรงกลม โดยเริ่มวัดจากจุดรอบนอกจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และใช้หน่วยมิลลิเมตรในการวัด

  3. ความลึกของเพชร หรือ ความสูงทั้งหมดของเพชร โดยเป็นความสูงแนวตั้งจากพื้นผิวด้านบนของเพชร ไปจนถึงจุดล่างสุด


ตัวอย่าง เพชรที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร และมีความลึก 2 มิลลิเมตร จะมีกะรัตเพชร = 5 X 5 X 2 X 0.006 = 0.3 กะรัต


กะรัตเป็นหน่วยวัดน้ำหนักของเพชรที่สำคัญและมีผลต่อราคาของเพชร แต่ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเจียระไน สี และความบริสุทธิ์ร่วมด้วยในการตัดสินใจซื้อเพชร


3. Fluorescence อีกปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม 

Fluorescence ของเพชรเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อซื้อเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังมองหาเพชรที่มีความสวยงามและมีคุณภาพสูง 


Fluorescence หมายถึงการที่เพชรสามารถเปล่งแสงหรือมีการเรืองแสงเมื่อถูกแสง Ultraviolet  อัลตราไวโอเลต (UV) การเรืองแสงนี้เกิดขึ้นเนื่องจากธาตุหรือสิ่งเจือปนภายในโครงสร้างของเพชรที่ตอบสนองต่อแสง UV 

ระดับของ Fluorescence ของเพชรแบ่งออกเป็น 5 ระดับหลักๆ ดังนี้

Fluorescence

  1. None : ไม่มีการเรืองแสงเมื่อถูกแสง UV เพชรจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีหรือแสงเมื่ออยู่ใต้แสง UV

  2. Faint : มีการเรืองแสงเพียงเล็กน้อยเมื่อถูกแสง UV การเปล่งแสงมักจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนในสภาพแวดล้อมปกติ

  3. Medium : มีการเรืองแสงที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อถูกแสง UV การเรืองแสงนี้สามารถเห็นได้ในที่มืดหรือใต้แสง UV โดยตรง

  4. Strong : มีการเรืองแสงที่ชัดเจนและสว่างมากเมื่อถูกแสง UV เพชรจะมีการเปล่งแสงที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงธรรมชาติ

  5. Very Strong : มีการเรืองแสงที่เข้มข้นและสว่างมากที่สุดเมื่อถูกแสง UV การเปล่งแสงนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนอย่างมากในทุกสภาพแวดล้อม


เพชรที่ไม่มีการเรืองแสง (None) หรือมีการเรืองแสงเพียงเล็กน้อย (Faint) มักจะมีมูลค่าสูงกว่าเพชรที่มีการเรืองแสงระดับสูง (Strong หรือ Very Strong) ผู้ซื้อบางคนอาจชอบหรือไม่ชอบ Fluorescence ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวและผลกระทบต่อรูปลักษณ์ของเพชร 

แต่ทริคเล็กๆน้อยๆของการเลือกเพชรที่ติด Fluorescence ต้องเลือกที่มีสีนวลๆอย่างเช่น เพชรน้ำ 94 ลงไป ทำให้การมี Fluorescence สีฟ้าระดับจางๆ ช่วยให้เพชรดูขาวขึ้นเล็กน้อย 


Fluorescence เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อซื้อเพชร เนื่องจากสามารถมีผลกระทบต่อรูปลักษณ์และมูลค่าของเพชร การเข้าใจระดับของ Fluorescence และผลกระทบของมันจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นในการเลือกซื้อเพชรที่ตรงตามความต้องการและความพอใจของคุณ 


4. เลือกเพชรที่มี Diamond Certificate จากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล


ใบเซอร์ของเพชร

การเลือกซื้อเพชร นอกจากจะเลือกซื้อจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ต้องมีใบรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อย่าง GIA หรือ HRD ซึ่งปัจจุบันการซื้อเพชรเริ่มต้นที่ขนาด 30 สตางค์ขึ้นไปถึงจากได้รับมาตฐานการยอมรับจากสถาบัน GIA แต่ทาง U Diamond ซื้อเพชรน้ำหนักเริ่มต้นที่ 19 สตางค์ก็สามารถได้รับใบรับรองจากสถาบันที่ทั่วโลกให้การยอมรับได้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความมั่นใจในคุณภาพของเพชรแล้ว ยังสามารถทำให้การขายต่อในอนาคตมีความคล่องตัวด้วย

ใบเซอร์เพชรมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเพชร เนื่องจากเป็นเอกสารที่ยืนยันคุณภาพและคุณสมบัติของเพชรอย่างเป็นทางการ รายละเอียดเกี่ยวกับความสำคัญของใบเซอร์เพชร


การรับประกันคุณภาพ (Quality Assurance)

  • ใบเซอร์เพชรเป็นการรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ เช่น GIA, IGI, HRD ว่าเพชรมีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุไว้

  • ใบเซอร์ช่วยให้ผู้ซื้อมั่นใจว่าเพชรที่ซื้อมีคุณภาพตรงตามที่โฆษณาไว้


การระบุคุณสมบัติ (Detailed Specifications)

  • ใบเซอร์ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเพชร เช่น น้ำหนักกะรัต, สี, ความบริสุทธิ์, การเจียระไน และการขัดเงา

  • ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบเพชรต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นและตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น


ความโปร่งใส (Transparency)

  • การมีใบเซอร์ทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของเพชรได้อย่างโปร่งใส

  • ลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงหรือซื้อเพชรที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณา


มูลค่าทางการตลาด (Market Value)

  • เพชรที่มีใบเซอร์จากสถาบันที่เชื่อถือได้จะมีมูลค่าทางการตลาดสูงกว่าเพชรที่ไม่มีใบเซอร์

  • ผู้ขายสามารถตั้งราคาขายได้สูงขึ้น และผู้ซื้อก็มีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น


การรับรองความถูกต้อง (Authenticity Certification)

  • ใบเซอร์ช่วยยืนยันว่าเพชรเป็นของแท้ ไม่ใช่เพชรเทียมหรือเพชรสังเคราะห์

  • สำหรับเพชรที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หรือเป็นเพชรหายาก การมีใบเซอร์ยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือและมูลค่า


การประเมินราคา (Appraisal)

  • ใบเซอร์เป็นเอกสารสำคัญในการประเมินราคาเพชรเมื่อมีการซื้อขาย ประกันภัย หรือตีราคาทรัพย์สิน

  • ผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้ข้อมูลในใบเซอร์เพื่อประเมินราคาเพชรได้แม่นยำยิ่งขึ้น


การซื้อขายระหว่างประเทศ (International Trade)

  • ใบเซอร์จากสถาบันที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ช่วยให้การซื้อขายเพชรระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นและน่าเชื่อถือ

  • ลดความซับซ้อนในการตรวจสอบคุณภาพและมูลค่าเมื่อมีการนำเข้าและส่งออกเพชร

ใบเซอร์เพชรเป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการยืนยันคุณภาพ ความถูกต้อง และมูลค่าของเพชร ช่วยให้ผู้ซื้อมั่นใจในการลงทุน และเพิ่มความโปร่งใสในการซื้อขายเพชร ใบเซอร์จากสถาบันที่เชื่อถือได้ เช่น GIA จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเพชรและผู้ขายได้มากยิ่งขึ้น


5. กำหนดงบประมาณในใจ 

สิ่งสำคัญสุดท้ายแต่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ การกำหนดงบประมาณในการเลือกซื้อเพชรมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยให้คุณสามารถควบคุมการใช้จ่าย วางแผนการซื้อ และเลือกซื้อเพชรที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเกินงบประมาณ และทำให้คุณสามารถเจรจาต่อรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แหวนเพชรกะรัต จาก ยู ไดมอนด์


 
 
 

Comments


bottom of page